วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม


          "สุกรรณ์ สังข์วรรณะ" บุคคลผู้เป็นความภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงให้กับคนสุพรรณบุรี ที่ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เดินตามรอยเท้าพ่อ ที่สามารถนำมาเป็นต้นแบบได้อีกรายมีรางวัลหมอดินอาสาดีเด่นระดับประเทศประจำปี ๒๕๔๘เป็นเครื่องการันตีความสามารถสมกับที่เป็นบุคคลต้นแบบของจังหวัดสุพรรณบุรี
          สุกรรณ์ สังข์วรรณะ ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2510 ปัจจุบันอายุ ๔๕ ปี ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรรม
       นอกจากจะเป็นหมอดินอาสาดีเด่นระดับตำบล/จังหวัด/ประเทศแล้ว ยังเป็น อาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ กรมประชาสงเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศิษย์เก่าดีเด่น องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (FFT) ในพระบรมราชูปถัมภ์ นักวิชากร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี เกษตรกรดีเด่นจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาไร่นาสวนผสม (กรมส่งเสริมการเกษตร) รองประธานกลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลหนองราชวัตร เลขานุการกลุ่มส่งเสริมเกษตรกรหมู่ ๑ บ้านหนองเต่าทอง รองประธานกองทุนหมู่บ้าน หมู่ ๑ บ้านหนองเต่าทอง คณะอนุกรรมการสมาคมชาวนาไทย กรรมการเครือข่ายทฤษฎีใหม่จังหวัดสุพรรณบุรี กรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลหนองราชวัตร วิทยากรหมอดิน ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินของสถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑ กรมพัฒนาที่ดิน วิทยากรบรรยายด้านอาชีพการเกษตรและการพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน เรื่อง การพัฒนาระบบการทำนาโดยใช่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำย่อยสลายฟาง การพัฒนาการผลิตข้างมะลิ (๑๐๕) ในพื้นที่เขตเกษตรน้ำฝน และชลประทาน และการจัดการและการผลิตผลิตภัณฑ์ฯ ระบบวิสาหกิจชุมชนฯลฯ
สุกรรณ์ สังข์วรรณะ ได้ศึกษาการทำการเกษตรแบบผสมผสานและการเกษตรแบบยั่งยืนในพื้นที่ ๔๓๐ ไร่ ตลอดจนศึกษาทดลองกิจกรรมด้านการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
๑. โครงการศึกษาเปรียบเทียบด้านการพัฒนาที่ดิน ร่วมกับ สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี ,สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑ กรมพัฒนาที่ดิน กิจกรรมดังนี้
๑.๑ แปลงขยายพันธุ์หญ้าแฝก
๑.๒ แปลงสาธิตและทดสอบการใช้พืชตระกูลถั่ว เพิ่มผลผลิตในนาข้าวและไม้ผล
๑.๓ แนะนำสาธิตและส่งเสริมเกษตรกร ทำปุ๋ยหมัก (สารเร่ง พด.๑) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (สารเร่ง พด.๒) และการใช้เชื้อจุลินทรีย์ (สารเร่ง พด.๓) ควบคุมการเจริญของโรคพืช
๒. โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าไซ ,สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ,สถานีพัฒนาที่ดินสุพรรณบุรี
๓. โครงการ คปร. (โครงการปรับโครงสร้างการผลิตและระบบการเกษตร) ร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้า
จากการศึกษาทดลองกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานและการเกษตรแบบยั่งยืน ได้ก่อกำเนิดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่มีจุดเด่นด้านต่าง ๆ ได้แก่ แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ และข้าวพันธุ์ลูกผสมต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลหนองราชวัตรแปลงสาธิตและทดสอบการใช้พืชตระกูลถั่ว เพิ่มผลผลิตในนาข้าวและไม้ผลแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ โครงการหว่านวันแม่ ๑๒ สิงหาคม เกี่ยววันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคมแปลงผลิตข้าวเพื่อเป็นอาหารกลาวันของโรงเรียนวัดหนองไผ่บ่ออนุบาลลูก ปลา โครงการประมงหมู่บ้าน หมู่ ๑ ตำบลหนองราชวัตรจุดเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน. ธนาคารเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสดโรงเรียนยุวชนเกษตร โรงเรียนวัดหนองไผ่ ตำบลหนองผักนาก อำเภอสามชุกจุดเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านการเกษตรแบบยั่งยืน
ที่กล่าวมาข้างตันนี้เป็นผลงานเพียงบางส่วนของนายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ..หากผู้อ่านท่านใดสนใจที่จะเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือศึกษาดูงาน สามารถติดต่อได้บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 72240 เบอร์โทรศัพท์ 089-7454203
หลักในการปฏิบัติตามแนวทางลดต้นทุนการผลิตข้าว คือ 3 ลด 1 เพื่ม 2 ปฏิบัติ
"รูปแบบ 3:1:2 คือชีวิต ของชาวนาทุกคน หัวใจของชาวนาวันนี้ คือการลดต้นทุนการผลิต"
3 ลด
- เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ละไม่เกิน 20 กิโลกรัม
- แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยเชื้อราไตรโคเคอร์มา
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยเคม
- ฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ และน้ำหมักชีวภาพ
- ใช้สารสะเดาป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น
- สำรวยจแมลงอย่างสม่ำเสมอ
1 เพิ่ม
- ไม่เผาฟาง หมักฟางด้วยสารชีวภาพ
- ปลูกพืชตระกูลถั่ว ทำปุ๋ยพืชสด
- ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
2 ปฏิบัติ
- จดบันทึกสวนครัวไว้กินเอง ลดรายจ่าย
- ทำนาปีละไม่เกิน 2 ครั้ง
- เรียนรู้การเป็นชาวนามืออาชีพ
- ใช้ข้อมูลในการวางแผนการผลิต
- ทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่าย
"ถ้าปฏิบัติตามแนวทางการลดต้นทุน จะสามารถลดได้จริง จะทำอย่างไรให้ชาวนา เปลี่ยนความฝัน ทำให้กลายเป็นความจริง"
.........................................................................................
ขอบคุณ...
- โครงการพัฒนาข้าวสุพรรณปลอดสารเคมีสู่ตลาดอาเซียน จังหวัดสุพรรณบุรี
- สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี
- คุณพิจักษ์ ผุดผ่อง
ขอบคุณ...ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม

           เรวัติ  น้อยวิจิตร  นสพ.พลังชน  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น