วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

นกแก้วคิงส์พลัส เชิญชวนร่วมปักธง " โครงการอาหารปลอดภัย " ในจังหวัดสุพรรณบุรี




           นกแก้วคิงส์พลัส  วัสดุปรับสมดุลดิน  ของบริษัท เอ็ม ที ที ทรัพย์เจริญ จำกัด  ประกาศเจตนารมย์ ขยายพื้นที่ สีเขียว ในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้เป็นจังหวัดนำร่อง ในโครงการอาหารปลอดภัย โดยสนับสนุน ให้เกษตรกร หันมาใช้  วัสดุปรับสมดุลดิน ตรานกแก้วคิงส์พลัส 14 และ นกแก้วคิงส์พลัส 24  แทนการใช้ปุ๋ยเคมี  และ ใช้ นกแก้วคิงส์พลัส 36 นกแก้วคิงส์พลัส 41 แทนการใช้ยาปราบศัตรูพืช ที่เป็นสารเคมี เพื่อให้ นาข้าว  แปลงพืชไร่ พืชผัก ทุกประเภท ปลอดภัย แก่ผู้บริโภค อย่างแท้จริง  ทั้งยังจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต ให้กับเกษตรกร ได้อีกด้วย โดยสามารถสั่งซื้อสินค้า  หรือ สมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย ได้โดยตรงที่ เรวัติ น้อยวิจิตร  โทร 081-9107445










                 ธงชัย ทองคำใส ชาวนา ในพื้นที่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ทดลองใช้ นกแก้วคิงส์พลัส  กับแปลงนาข้าว ในพื้นที่ 12 ไร่ โดยใช้ นกแก้วคิงส์พลัส 14 จำนวน 10 ถุง หว่านด้วยเครื่อง เมื่ออายุข้าว ได้ 45 วัน กับข้าวเจ้าพันธุ์ กข. 61 พันธุ์ข้าวเบาอายุ 90 วัน ของกรมการข้าว โดยศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวจังหวัดพิษณุโลก  ซุึ่งได้รับการปรับปรุงพันธุ์ ตามคำร้องขอของชาวนาภาคกลาง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ใช้น้ำน้อย ให้ผลผลิตดี  ลุงธงชัย เก็บเกี่ยวข้าว เมื่ออายุได้ 86 วัน ได้ข้าว 15 ตันราคาตันละ 6800 บาท ซึ่งถือได้ว่า เป็นผลผลิตที่น่าพอใจ







               วันนี้หากเกษตรกร ได้หันมาทดลองใช้ วัสดุปรับสมดุลดิน ตรานกแก้วคิงส์พลัส 14 และ นกแก้วคิงส์พลัส 24  แทนการใช้ปุ๋ยเคมี  และ ใช้ นกแก้วคิงส์พลัส 36 นกแก้วคิงส์พลัส 41 แทนการใช้ยาปราบศัตรูพืช ที่เป็นสารเคมี เพื่อให้ นาข้าว  แปลงพืชไร่ พืชผัก ทุกประเภท ปลอดภัย แก่ผู้บริโภค อย่างแท้จริง  ทั้งยังจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต ให้กับเกษตรกร ได้อีกด้วย  เราเชื่อว่า  แม้ราคาข้าว หรือ ผลผลิตทางการเกษตร จะไม่สูงเช่นแต่เดิม เกษตรกร หรือ ชาวนา ก็จะยังคงอยู่ได้ และ ที่สำคัญจะได้ช่วยให้โครงการอาหารปลอดภัย เพื่อ คนไทยปลอดภัย ห่างไกลโรค ได้อีกทางหนึ่งด้วย  สั่งซื้อสินค้า  หรือ สมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย ได้โดยตรงที่ เรวัติ น้อยวิจิตร  โทร 081-9107445















ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์   รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาคีเครือข่าย จัดโต๊ะกลม ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา " ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "




              คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  พร้อมด้วย อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร บริษัท เอ็มทีทีทรัพย์เจริญ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ ตรานกแก้วคิงส์พลัส  ร่วมสนับสนุนการจัดประชุมโต๊ะกลม ภาคีเครื่อข่าย ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  ณ  ศูนย์ประชุมชั่วคราว บ้านไร่ในสวน โดยมีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคประชาชน  นักวิชาการ  ผู้บริหารสถานศึกษา และ ผู้แทนสื่อมวลชน ร่วมอภิปราย






              วันที่ 6 ธันวาคม  2559  เวลา 11.00 น.   ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูล ณ อยุธยา  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  มอบหมาย  ดร.เริงวิชญ์ นิลโคตร  อาจารย์ชาตรี ลุนดำ  นักทรัพยากรบุคคล สังกัด งานยุทธศาสตร์ และการบริหารพัฒนาทรัพยากร  มหาวิทยสลัยมหิดล  ร่วมประชุมกับภาคีเครื่อข่าย โครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  โดยมี  ป้าลำพึง ศรีสาหร่าย  ปราชญ์ชุมชน เจ้าของแปลงผักปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล นายวีระ หวลบุดตา  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  ประธานโครงการนาแปลงใหญ่ต้นแบบ อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี  นายธีระยุทธ ศรีปิยะรัตนกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเพิ่มวิทยา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม  เรือตรีธรรมรัตน์ อรุณสินประเสริฐ ประธานชุมชนหมู่บ้านสหพร และที่ปรึกษาสหกรณ์หมู่บ้านสหพร จำกัด  นายวีระ ผ่องภักดี ตัวแทนผู้จำหน่ายปุ๋ย อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี   นายลิขิต รักอยู่  บรรณาธิการ นสพ.สมุทรสาครนิวส์ จ.สมุทรสาคร นายเรวัติ  น้อยวิจิตร ผช.หน.กองบรรณาธิการ นสพ.พลังชน และ ผู้บริหารกลุ่มสื่อท้องถิ่นออนไลน์  คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  พร้อมด้วย อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร บริษัท เอ็มทีทีทรัพย์เจริญ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ ตรานกแก้วคิงส์พลัส  ร่วมสนับสนุนการจัดประชุม ภาคีเครื่อข่าย ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  
     




             ป้าลำพึง ศรีสาหร่าย  ปราชญ์ชุมชน เจ้าของแปลงผักปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล วัย 57 ปี กล่าวว่า .. ป้าใช้เวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน  บนพื้นที่ 4 ไร่ หน้าตึกคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล แห่งนี้ เพื่อสร้างวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบพอเพียง ตามรอยพ่อ .. ปลูกพืชใบ และ พืชผักสวนครัว กว่า 20 ชนิด  ทั้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้งชนิดต่างๆ ทั้ง กวางตุ้งไต้หวัน กวางตุ้งต้น กวางตุ้งดอก นอกจากนี้ มีผักกาดขาว หัวไชเท้า ผักขมเขียว ผักขมแดง แฟง มะเขือยาว มะเขือเปราะ ถั่ว โหระพา กะเพรา ผักสลัด และดอกชมจันทร์ โดยพืชผักทุกชนิด เป็นพืชผักปลอดภัย ขายในราคายุติธรรม ป้าได้คุยกับคุณมะนาว เห็นถึงความตั้งใจดี ป้าจึงอยากเข้าไปร่วมด้วย เพราะถ้าทำกันเป็นกลุ่มใหญ่ ก็จะช่วยบ้านเมืองได้มาก และเห็นว่าพวกเขาทำจริง  ก็อยากให้โครงการนี้ ขยายไปสู่คนไทยทั่วประเทศได้เร็วขึ้น







                ดร.เริงวิชญ์ นิลโคตร  อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทางคณะเทคนิคการแพทย์ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสว่า  .. ปัจจุบัน คนไทย บริโภคอาหารมีสารตกค้าง ทางมหาวิทยาลัยมหิดล น่าจะช่วยกันคิดเรื่องนี้ได้นะ  .. กลับกันมา ก็ยังมาคิดกันว่า พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำรัสแล้ว ทางมหาวิทยาลัย ต้องเดินหน้าเรื่องนี้กันแล้ว รอช้าไม่ได้แล้ว   จึงได้เกิดเหตุการณ์ การแถลงข่าวเรื่องสารตกค้างในพืช ช่วงเทศกาลกินเจ เป็นข่าวใหญ่โต คึกโครม มีผู้นำไปโพสต์ในเฟสบุ๊คและแชร์กันไปสนั่นกว่า 4 แสนแชร์ มียอดวิวกว่า 10 ล้านวิว ทำให้เรื่องอาหารปลอดภัย กลายเป็นประเด็นร้อน ที่ทุกกระทรวง ทบวง กรม หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นเร่งด่วน ที่ต้องรีบแก้ไข  ซึ่งผมเอง ก็เพิ่งจะได้พบกับ คุณมะนาว เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา แต่หลังจากได้พูดคุยกัน ก็เห็นว่า เป็นเรื่องเดียวกัน ที่สามารถ ร่วมงานกันได้ 

                   




          
              อาจารย์ชาตรี ลุนดำ  นักทรัพยากรบุคคล สังกัด งานยุทธศาสตร์ และการบริหารพัฒนาทรัพยากร  มหาวิทยสลัยมหิดล  กล่าวว่า  มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยคณะเทคนิคการแพทย์ ทำอะไรได้มากมาย หลายอย่าง ตามที่ทางภาคีเครือข่าย โครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค " ทั้งชุดตรวจสอบสารตกค้าง ที่สามารถนำลงไปตรวจสอบได้ถึงแปลงเกษตรกร หากทางกลุ่มต้องการ แต่แนวทางที่คิดกัน คงเป็นรูปแบบของการร่วมคิด ร่วมทำ ลงไปดูกันจริงๆ ว่าทำกันอย่างไร  ขั้นตอนเป็นอย่างไร เรื่องผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ ไม่ใช่เรื่องยาก ส่งของมา เข้าห้องตรวจ ก็ได้ผลกลับไป แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัย  แต่เราคงมามองกันที่ภาพรวมว่า โครงการนี้ จะเดินอย่างไร ให้บรรลุเป้าหมาย ได้ดี และ รวดเร็ว เพราะนั่นหมายถึง คุณภาพชีวิต ของคนไทย จะได้ปลอดภัย ห่างไกลโรค .. 








           คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์   ได้กล่าวถึงที่มาของโครงการว่า ..  จากเจตนารมณ์ ที่มีความมุ่งมั่นและตระหนักในความสมดุลย์ ในระบบสุขภาพของคนไทย รวมถึงการเข้าถึงเครือข่ายของการบริโภคที่เป็นธรรม  ทั้งด้านมูลค่า ราคา และคุณค่าทางโภชนาการ ของประชาชนที่ยุติธรรม และพึงประสงค์  จึงเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "   ทั้งนี้โดยอาศัยฐานพลังเครือข่ายผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทั้งระดับองค์กรภาครัฐ  ปราชญ์ชุมชน เครือข่ายการจัดการสหกรณ์  นักวิชาการ  บริษัทเอกชน  ผู้แทนสื่อมวลชน  เข้าร่วมเป็นภาคีตรวจสอบกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อการผลิต และสร้างมาตรการร่วมกันให้เกิดการบริโภคอาหารปลอดภัย  เพื่อเป้าหมายของการห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ  นอกจากนี้ กลุ่มเครือข่ายฯ ได้สร้างพื้นที่นำร่อง จากความตั้งใจ และ มีวิสัยทัศน์ เพื่อขับเคลื่อนให้การดำเนินการภาคสนาม มีรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของพื้นที่นำร่องนั้นๆ โดยเริ่มจากพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม  สุพรรณบุรี  เชียงราย และ บุรีรัมย์


             





           ช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน วันนี้  อาจารย์ชาตรี ลุนดำ เจ้าถิ่น ได้เลือกสั่งอาหาร จากร้านอร่อยในพื้นที่ มีเมนูเด็ด  ขนมจีน แกงเขียวหวาน  รสชาดภาคกลาง อร่อยมาก  ต้มจืด  และ ผัดกระเพรา กินกันแบบง่ายๆ สไตล์ คนไทย หัวใจลูกทุ่ง ในระหว่างอาหาร  มีคลิปสัมภาษณ์เกษตรกร จาก 19 จังหวัด ภาคอีสาน ในแปลงทดลอง ของผลิตภัณฑ์ ตรานกแก้วคิงส์พลัส มาให้ชมกันด้วย  ก็เรียกกันว่า  จัดเต็มกันเลยทีเดียว











          หลังอาหารกลางวัน  อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร บริษัท เอ็มทีทีทรัพย์เจริญ จำกัด ได้กล่าว แนะนำผลิตภัณฑ์ ที่มาที่ไปของงานวิจัยชิ้นนี้ ว่า เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และมีแรงบรรดาลใจอย่างไร ถึงเกิดโครงการนี้ขึ้น  โดย อาจารย์ธนัช กล่าวถึง .. ความมุ่งหวังของโครงการ ต่อสังคมไทย ว่าจะสร้างมาตรฐานชีวิตของคนไทยได้ปลอดภัย  ได้บริโภคพืช ผัก ผลไม้ รวมถึงข้าวปลาอาหาร จากเกษตรกร ผูัมุ่งมั่นผลิตสินค้าปลอดภัย สู่ผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงได้ ในราคายุติธรรม มีคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่สามารถวัดผลได้  ตามค่ามาตรฐานจากห้องปฏิบัติการ และ ผ่านการจัดจำหน่าย ด้วยเครือข่ายตลาดคุณธรรม  ผ่านแนวคิดการร่วมมือรับรองแบบสังคมปฏิบัติการ  









             จากนั้น    อาจารย์ชาตรี ลุนดำ  ได้ขอให้ ป้าลำพึง ศรีสาหร่าย  ปราชญ์ชุมชน เจ้าของแปลงผักปลอดภัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้หว่านสารปรับปรุงดิน ตรานกแก้วคิงส์พลัส ลงในร่องสวนเป็นปฐมฤกษ์ ให้อีกด้วย ก็นับเป็นการ เปิดประชุมโต๊ะกลม ภาคีเครือข่าย  ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการพัฒนา "  ชีวิตคนไทย ปลอดภัย ห่างไกลโรค "  ครั้งที่ 1 ที่คุ้มค่าที่สุด







ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์   รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445
               

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

นกแก้วคิงส์พลัส ปักธง สุพรรณบุรีโมเดล เน้นลดต้นทุน - อาหารปลอดภัย



               นายณรงค์ แจ่มประเสริฐ เกษตรอำเภอบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  นำคุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  และ ทีมงาน บริษัท ว.ธนทรัพย์ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ วัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน ตรานกแก้วคิงส์พลัส ลงพื้นที่ อำเภอบางปลาม้า เพื่อแจกจ่าย วัสดุปรับปรุงดิน ให้เกษตรกร ได้นำไปทดลองใช้  ในโครงการ  สุพรรณบุรีโมเดล เพื่อช่วยเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิต ใช้การปรับปรุงคุณภาพดิน  ทดแทนการใช้ ปุ๋ยเคมี และ ยาปราบศัตรูพืช พร้อม สร้างเครือข่ายในโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อคนไทยทั่วประเทศ  โดยมี มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนการนำผลิตผล จากการปลูกในแปลงของเกษตรกร มาเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารตกค้าง  งานนี้ ทางมหาวิทยาลัย ยังให้นำ นกแก้วคิงส์พลัส ลงแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยอีกด้วย  ซึ่งปฏิบัติการนี้ คณาจารย์ มหาวิทยาลัย อยากให้ พุ่งประเด็น การขยายผล สู่สถานศึกษา ให้เยาวชน ของชาติ ได้เรียนรู้ และ นำไปใช้ เพื่ออนาคต ของชาติไทย ห่างไกลสารพิษ ในอาหาร







                  จุดแรก คือพื้นที่ ตำบลตะค่า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  เป็นกลุ่มปลูกกระเจี๊ยบฝัก ส่งนอก ไปประเทศญี่ปุ่น พื้นที่กว่า 140 ไร่ มีเกษตรกรกลุ่มนี้เกือบ 10 ราย  มีระบบการป้องกันน้ำท่วมแปลง อย่างดี ยังคงใช้ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช แต่อยู่ในปริมาณที่ ผู้ส่งออกกำหนดว่าต้องไม่เกินมาตรฐาน การส่งออก ปัญหาของเกษตรกร คือ ปุ๋ย - ยา ราคาแพง แต่ยังคงต้องใช้ เพราะกลัวไม่ได้ผล ประเด็นสำคัญที่เป็นความกังวลใจ ของเกษตรกรกลุ่มนี้ ก็คือ ดินมีโรคตกค้าง ปลูกขึ้นต้นแล้วก็ตาย ยังแก้ไม่ได้  มีหนอนรบกวน  ทั้งต้นเล็ก และ ต้นใหญ่ วันนี้ จึงนับว่า เป็นโอกาสดีของทาง กลุ่มที่เดินทางเข้ามา เพื่อนำวัสดุปรับปรุงดิน เข้ามาให้ทดลองใช้ แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องไม่ใช้ ร่วมกับปุ๋ยเคมี  ที่เคยใช้อยู่ ให้ใช้นกแก้วคิงส์พลัส อย่างเดียว สำหรับ เรื่องแมลง ก็ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ของทางบริษัท แทนยาฆ่าแมลง ซึ่งการันตีว่า สามารถทำให้แมลงที่เคยมาก่อกวน จะไม่มาก่อกวนอีก โดยได้มอบผลิตภัณฑ์ ให้ไปทดลองใช้เลย แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องไม่พ่นสารเคมี ในแปลงทดลองนี้  เพราะหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะต้องนำผลผลิตเข้าไปให้ทางมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าแล็ปตรวจสารตกค้าง ว่าผลผลิตแปลงนั้นปลอดภัยจริง ..








             จุดที่สอง  เป็นกลุ่ม ผู้ปลูกผัก  มีคะน้า  กวางตุ้ง  พริก  โหระพา  ฯลฯ  กลุ่มนี้มีพื้นที่กว่า 200 ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมี  ยาฆ่าแมลง ตามปกติของเกษตรกร ทั่วไป  เมื่อถามว่า ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง ได้ไหม เพราะมันอันตราย ต่างก็บอกว่า กลัวจะไม่ได้ผล หลังจาก ได้พูดคุยกัน และ ทางเกษตรอำเภอ และ ประธาน บริษัท ฯ ออกปากการันตี ว่า รับรอง  จึงตกลงใจ ยกแปลงทดลองให้ลองใช้ งานนี้ คุณมะนาว  ในฐานะ เจ้าของโรงงาน และ ประธานบริษัท  ที่ออกมาเดินภาคสนาม ร่วมกับ ฝ่ายลงแปลง ก็ถึงกับ ยิ้มร่า อย่างพอใจ แถมออกปากการันตี ผลิตภัณฑ์ว่า .. ของเขาดีจริงๆ






            ด้านมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูล ณ อยุธยา  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์  พร้อมคณาจารย์  ได้ร่วมกันกับ  คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  พร้อมด้วย อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร นกแก้วคิงส์พลัส    เพื่อหาแนวทาง ในการสร้างมาตรฐาน ในเรื่องอาหารปลอดภัย เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญของชาติบ้านเมือง  ซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบสารตกค้างในพืช ผัก แทบทุกชนิด มีสารตกค้าง ซึ่งเป็นอันตราย ต่อ ผู้บริโภค  จึงมีแนวคิดร่วมกันว่า จะสร้างมาตรฐาน ในเรื่องอาหารปลอดภัย โดยจะมอบหมายให้ ทาง นกแก้วคิงส์พลัส เก็บตัวอย่างผลิตผลทางการเกษตร ในแปลงทดลอง มาเพื่อให้ทางมหาวิทยาลัย ตรวจสอบสารตกค้าง ก่อนนำออกจำหน่าย นับเป็นมาตรฐาน ใหม่ ที่จะทำให้ คนไทยบริโภค พืช ผัก ที่อยู่ในโครงการอาหารปลอดภัย  กันในเร็วๆนี้


  
  









            ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัย มหิดล ยังได้ เข้าร่วมโครงการแปลงผักสาธิต กับ นกแก้วคิงส์พลัส  โดยได้มอบแปลงผัก หน้าอาคารของมหาวิทยาลัย ให้ ทางคุณมะนาว  มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์   ผู้บริหาร นกแก้วคิงส์พลัส    ได้ลงทำแปลงทดลอง อีกด้วย งานนี้ ประธาน  นกแก้วคิงส์พลัส บอก .. จัดเต็มให้เลย  เพราะงานนี้ ถือว่า ได้ลงเรือลำเดียวกันแล้ว อย่างเต็มรูปแบบ







   
  


              ด้าน นายวีระ  หวลบุดตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม และ ประธานโครงการนาแปลงใหญ่ต้นแบบของ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  พร้อมด้วย   นายณรงค์ แจ่มประเสริฐ เกษตรอำเภอบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  ก็แจ้งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ไปยังเกษตรกร ชาวนา ในพื้นที่ อำเภอบางปลาม้า ทั้ง 14 ตำบล  ให้เข้าร่วมในโครงการ  ลดต้นทุนการผลิต - สร้างอาหารปลอดภัย กับ นกแก้วคิงส์พลัส  ซึ่งขณะนี้ ได้มีเกษตรกร มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100 แปลง  สำหรับแปลงที่น้ำลดแล้ว และกำลังลงมือทำนา รอบใหม่ ต่างก็มารับ นกแก้วคิงส์พลัส ไปทดลองใช้กันอย่างคึกคัก  โดยมี ทีมงานเข้าไปร่วมดูแล การใช้ และ ร่วมบันทึกข้อมูล กันถึงที่นาโดยตรงเลย ก็ถือเป็นการ " ปักธง " ของ นกแก้วคิงส์พลัส กันในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยเฉพาะ  อำเภอบางปลาม้า ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรกว่า 2 แสนไร่ กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว









ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์   รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445