วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

นกแก้วคิงส์พลัส ปักธง สุพรรณบุรีโมเดล เน้นลดต้นทุน - อาหารปลอดภัย



               นายณรงค์ แจ่มประเสริฐ เกษตรอำเภอบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  นำคุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  และ ทีมงาน บริษัท ว.ธนทรัพย์ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ วัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน ตรานกแก้วคิงส์พลัส ลงพื้นที่ อำเภอบางปลาม้า เพื่อแจกจ่าย วัสดุปรับปรุงดิน ให้เกษตรกร ได้นำไปทดลองใช้  ในโครงการ  สุพรรณบุรีโมเดล เพื่อช่วยเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิต ใช้การปรับปรุงคุณภาพดิน  ทดแทนการใช้ ปุ๋ยเคมี และ ยาปราบศัตรูพืช พร้อม สร้างเครือข่ายในโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อคนไทยทั่วประเทศ  โดยมี มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนการนำผลิตผล จากการปลูกในแปลงของเกษตรกร มาเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อหาสารตกค้าง  งานนี้ ทางมหาวิทยาลัย ยังให้นำ นกแก้วคิงส์พลัส ลงแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยอีกด้วย  ซึ่งปฏิบัติการนี้ คณาจารย์ มหาวิทยาลัย อยากให้ พุ่งประเด็น การขยายผล สู่สถานศึกษา ให้เยาวชน ของชาติ ได้เรียนรู้ และ นำไปใช้ เพื่ออนาคต ของชาติไทย ห่างไกลสารพิษ ในอาหาร







                  จุดแรก คือพื้นที่ ตำบลตะค่า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  เป็นกลุ่มปลูกกระเจี๊ยบฝัก ส่งนอก ไปประเทศญี่ปุ่น พื้นที่กว่า 140 ไร่ มีเกษตรกรกลุ่มนี้เกือบ 10 ราย  มีระบบการป้องกันน้ำท่วมแปลง อย่างดี ยังคงใช้ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช แต่อยู่ในปริมาณที่ ผู้ส่งออกกำหนดว่าต้องไม่เกินมาตรฐาน การส่งออก ปัญหาของเกษตรกร คือ ปุ๋ย - ยา ราคาแพง แต่ยังคงต้องใช้ เพราะกลัวไม่ได้ผล ประเด็นสำคัญที่เป็นความกังวลใจ ของเกษตรกรกลุ่มนี้ ก็คือ ดินมีโรคตกค้าง ปลูกขึ้นต้นแล้วก็ตาย ยังแก้ไม่ได้  มีหนอนรบกวน  ทั้งต้นเล็ก และ ต้นใหญ่ วันนี้ จึงนับว่า เป็นโอกาสดีของทาง กลุ่มที่เดินทางเข้ามา เพื่อนำวัสดุปรับปรุงดิน เข้ามาให้ทดลองใช้ แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องไม่ใช้ ร่วมกับปุ๋ยเคมี  ที่เคยใช้อยู่ ให้ใช้นกแก้วคิงส์พลัส อย่างเดียว สำหรับ เรื่องแมลง ก็ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ของทางบริษัท แทนยาฆ่าแมลง ซึ่งการันตีว่า สามารถทำให้แมลงที่เคยมาก่อกวน จะไม่มาก่อกวนอีก โดยได้มอบผลิตภัณฑ์ ให้ไปทดลองใช้เลย แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องไม่พ่นสารเคมี ในแปลงทดลองนี้  เพราะหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะต้องนำผลผลิตเข้าไปให้ทางมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าแล็ปตรวจสารตกค้าง ว่าผลผลิตแปลงนั้นปลอดภัยจริง ..








             จุดที่สอง  เป็นกลุ่ม ผู้ปลูกผัก  มีคะน้า  กวางตุ้ง  พริก  โหระพา  ฯลฯ  กลุ่มนี้มีพื้นที่กว่า 200 ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมี  ยาฆ่าแมลง ตามปกติของเกษตรกร ทั่วไป  เมื่อถามว่า ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง ได้ไหม เพราะมันอันตราย ต่างก็บอกว่า กลัวจะไม่ได้ผล หลังจาก ได้พูดคุยกัน และ ทางเกษตรอำเภอ และ ประธาน บริษัท ฯ ออกปากการันตี ว่า รับรอง  จึงตกลงใจ ยกแปลงทดลองให้ลองใช้ งานนี้ คุณมะนาว  ในฐานะ เจ้าของโรงงาน และ ประธานบริษัท  ที่ออกมาเดินภาคสนาม ร่วมกับ ฝ่ายลงแปลง ก็ถึงกับ ยิ้มร่า อย่างพอใจ แถมออกปากการันตี ผลิตภัณฑ์ว่า .. ของเขาดีจริงๆ






            ด้านมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูล ณ อยุธยา  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์  พร้อมคณาจารย์  ได้ร่วมกันกับ  คุณมะนาว มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์  พร้อมด้วย อาจารย์ธนัช ศิรดุลยกร  ผู้บริหาร นกแก้วคิงส์พลัส    เพื่อหาแนวทาง ในการสร้างมาตรฐาน ในเรื่องอาหารปลอดภัย เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญของชาติบ้านเมือง  ซึ่งปัจจุบันจากการตรวจสอบสารตกค้างในพืช ผัก แทบทุกชนิด มีสารตกค้าง ซึ่งเป็นอันตราย ต่อ ผู้บริโภค  จึงมีแนวคิดร่วมกันว่า จะสร้างมาตรฐาน ในเรื่องอาหารปลอดภัย โดยจะมอบหมายให้ ทาง นกแก้วคิงส์พลัส เก็บตัวอย่างผลิตผลทางการเกษตร ในแปลงทดลอง มาเพื่อให้ทางมหาวิทยาลัย ตรวจสอบสารตกค้าง ก่อนนำออกจำหน่าย นับเป็นมาตรฐาน ใหม่ ที่จะทำให้ คนไทยบริโภค พืช ผัก ที่อยู่ในโครงการอาหารปลอดภัย  กันในเร็วๆนี้


  
  









            ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัย มหิดล ยังได้ เข้าร่วมโครงการแปลงผักสาธิต กับ นกแก้วคิงส์พลัส  โดยได้มอบแปลงผัก หน้าอาคารของมหาวิทยาลัย ให้ ทางคุณมะนาว  มัณฑิตา วงษ์พิทักษ์โรจน์   ผู้บริหาร นกแก้วคิงส์พลัส    ได้ลงทำแปลงทดลอง อีกด้วย งานนี้ ประธาน  นกแก้วคิงส์พลัส บอก .. จัดเต็มให้เลย  เพราะงานนี้ ถือว่า ได้ลงเรือลำเดียวกันแล้ว อย่างเต็มรูปแบบ







   
  


              ด้าน นายวีระ  หวลบุดตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม และ ประธานโครงการนาแปลงใหญ่ต้นแบบของ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  พร้อมด้วย   นายณรงค์ แจ่มประเสริฐ เกษตรอำเภอบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี  ก็แจ้งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ไปยังเกษตรกร ชาวนา ในพื้นที่ อำเภอบางปลาม้า ทั้ง 14 ตำบล  ให้เข้าร่วมในโครงการ  ลดต้นทุนการผลิต - สร้างอาหารปลอดภัย กับ นกแก้วคิงส์พลัส  ซึ่งขณะนี้ ได้มีเกษตรกร มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100 แปลง  สำหรับแปลงที่น้ำลดแล้ว และกำลังลงมือทำนา รอบใหม่ ต่างก็มารับ นกแก้วคิงส์พลัส ไปทดลองใช้กันอย่างคึกคัก  โดยมี ทีมงานเข้าไปร่วมดูแล การใช้ และ ร่วมบันทึกข้อมูล กันถึงที่นาโดยตรงเลย ก็ถือเป็นการ " ปักธง " ของ นกแก้วคิงส์พลัส กันในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยเฉพาะ  อำเภอบางปลาม้า ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรกว่า 2 แสนไร่ กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว









ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์   รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น